ผู้ดูแลระบบ
ติดต่อเรา
หน่วยงานภายใน อย.
สำนักเลขานุการกรม
สำนักยา
สำนักอาหาร
สำนักด่านอาหารและยา
กองควบคุมเครื่องมือแพทย์
กองควบคุมวัตถุเสพติด
กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง
กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย
กองแผนงานและวิชาการ
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
กอง คบ.
กลุ่มตรวจสอบภายใน
ก.พ.ร. อย.
ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ
ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี
สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
One Stop Service Center
ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.)
เกี่ยวกับเรา
เฉพาะเว็บนี้
ทั่วโลก
E-Book เอกสาร อย.
วิจัย
ยา
อาหาร
เครื่องมือแพทย์
เครื่องสำอาง
วัตถุอันตราย
สาธารณสุข
ทั่วไป
กฎหมาย
ยา
อาหาร
เครื่องมือแพทย์
เครื่องสำอาง
วัตถุอันตราย
วัตถุเสพติด
ยาเสพติด
สารระเหย
รวมกฎหมาย อย. เล่มใหม่
กฎหมายฉบับภาษาอังกฤษ
คู่มือ
ยา
อาหาร
เครื่องมือแพทย์
เครื่องสำอาง
วัตถุอันตราย
วัตถุเสพติด
รวมทุกเรื่องและทั่วไป
การดำเนินงาน
ประชุม สัมมนา
วิชาการ คบส. ทั่วไป
E-Book เอกสาร อวช.
ยา
อาหาร
เครื่องสำอาง
เครื่องมือแพทย์
วัตถุอันตราย
วัตถุเสพติด
ด้านอื่นๆ
เอกสารตามหน่วยงาน
สำนักงานเลขานุการกรม
สำนักยา
สำนักอาหาร
สำนักด่านอาหารและยา
กองควบคุมเครื่องมือแพทย์
กองควบคุมวัตถุเสพติด
กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง
กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย
กองแผนงานและวิชาการ
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
กอง คบ.
ศพช.
กลุ่มกฎหมายอาหารและยา
กลุ่มตรวจสอบภายใน
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ
ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี
สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
One Stop Service Center
ทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ
มุมโสตทัศนวัสดุ
CD-ROM
TAPE
VDO
มุมสุขภาพ
มุมธรรมะ
มุมบันเทิง
แบบสำรวจความคิดเห็น
ความรวดเร็วในการ
สืบค้นข้อมูล
ช้ามาก
ช้า
ปานกลาง
เร็ว
ความน่าสนใจของข้อมูล
ควรปรับปรุง
พอใช้
ดี
ดีมาก
ผู้ให้ข้อมูล
บุคลากรกระทรวง สธ.
บุคคลภายนอก
ความคิดเห็น อื่นๆ
320420
-ใส่ตัวเลขที่เห็น
เก็บหน้านี้ไว้ใน Favorites
ผู้ใช้ขณะนี้
79
SELECT * FROM tabnews Where Id= 3636
ข่าวประจำวัน : ฝังเข็มสู้! อาการ"วัยทอง"
วัยทอง ถือเป็นวัยหนึ่งที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายอย่างมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างปัญหาทำให้การใช้ชีวิตที่เคยปกติสุขสะดุดลง เนื่องจากความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากระบบที่เสื่อมถอยของอวัยวะหลายอย่าง
น.พ.วรายุต สถิตย์เสถียร หัวหน้าหน่วยแพทย์ฝังเข็มและเวชกรรมผสมผสาน ร.พ.พระมงกุฎเกล้า และแพทย์ประจำคลินิกเพื่อดุลยภาพ ไทยพริวิเลจ สปา อธิบายว่า วัยทองถือเป็นวัยแห่งความเสื่อม เพราะอวัยวะต่างๆ ได้ตรากตรำงานหนักมานานทำให้ระบบต่างๆ เริ่มทำงานผิดปกติ ข้อเอ็นที่เคยยืดหยุ่นเป็นอย่างดี กลับเปราะบาง ไม่ยืดหยุ่นเหมือนที่เคย ระบบหล่อลื่นเหือดหาย เมื่อเจออุบัติเหตุเล็กน้อยก็พานจะแพลงจะปวดได้ง่ายๆ
อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนแต่สร้างความรำคาญให้กับชายและหญิงวัยทองอย่างมาก และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะกลายเป็นปัญหาในการดำรงชีวิตในระยะยาว
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเข้าสู่วัยทองแล้วหรือยัง น.พ.วรายุต บอกว่า วัยทองหรือวัยหมดระดู คือ ระยะเวลาภายหลังจากที่ผู้หญิงหยุดการมีระดูครบ 1 ปีเต็ม หยุดความสามารถที่จะตั้งครรภ์ ซึ่งอายุเฉลี่ยของวัยหมดระดูของหญิงไทยคือ 47 ปี (45-47) ส่วนผู้ชาย ปัญหาจะแสดงออกอย่างช้าๆ แทบสังเกตไม่พบ แต่อาจกระทบกระเทือนถึงความรู้สึกเชื่อมั่นในระยะยาว
อาการโดยทั่วไปของผู้ชาย และผู้หญิง วัยทองที่เกิดขึ้นในระยะแรก คุณหมอให้สังเกตจากอาการดังนี้
- มีอาการร้อนวูบวาบ ความรู้สึกรับร้อน หนาว ไม่ตรงกับคนปกติ
- เหงื่อออกง่าย อาการมักเกิดตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สนิท
- อ่อนเพลีย อ่อนล้า หลงลืมง่ายโดยเฉพาะเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้น
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ใจน้อย
- มีอาการทางระบบปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ผิวแห้ง ผมแห้ง ผมร่วง เล็บเปราะ อ้วน ไขมันในเส้นเลือดสูง
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือไม่สนใจ
และถ้าหากมีอาการข้อใดข้อหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ขอให้คิดได้ว่าคุณกำลังเข้าสู่วัยทองอย่างไม่ต้องสงสัย
ส่วนอาการที่เกิดขึ้นในระยะหลังคือ กระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความจำเสื่อม ซึ่งเมื่อแรกเริ่มจะไม่มีอาการใดๆ จนเมื่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดมากจนไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ร่างกายจึงแสดงอาการขึ้น
อาการต่างๆ เหล่านี้ สามารถป้องกันได้ ด้วยการปฏิบัติตัวและดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รวมทั้งการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ด้วยการตรวจปรึกษา ตรวจวินิจฉัย รวมทั้งบำบัดรักษาตามอาการต่อไป
ในปัจจุบันนอกจากการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว การใช้ศาสตร์การแพทย์ทางตะวันออก ด้วยวิธีการฝังเข็ม ยังเป็นที่นิยมสำหรับชาววัยทองนี้เช่นกัน
"การบำบัดรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนตะวันออก ถือว่าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะในการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คนไข้รับประทานฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมามีการศึกษาพบว่า การให้ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากอาจทำให้คนไข้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น คนวัยทองทั่วโลก จึงหันมาหาวิธีการรักษาแบบอื่นที่ไม่ต้องอาศัยฮอร์โมน ซึ่งการแพทย์แบบตะวันออก โดยเฉพาะการฝังเข็ม สามารถตอบโจทย์นี้ได้ และยังพบว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีอย่างชัดเจน พิสูจน์ได้ด้วยตัวคนไข้เอง จึงทำให้การฝังเข็มเพื่อรักษาอาการวัยทองได้รับความนิยมขึ้นตามลำดับ" น.พ.วรายุต กล่าว
น.พ.วรายุต สถิตย์เสถียร
สำหรับอาการที่มักพบบ่อยในคนไข้วัยทอง ได้แก่ อาการปวดหลัง ปวดคอ ไมเกรน ปวดไหล่ ปวดเข่า ตามนิ้วไม่ยืดหยุด นิ้วติด ปวดข้อศอก ปวดคอ เส้นคอมีปัญหา เมื่อเอกซเรย์แล้วก็ไม่พบว่ามีความผิดปกติในส่วนของกระดูกข้อต่างๆ หรือ ในผู้หญิงที่มีอาการของระดูมาผิดปกติ ในผู้ชายมีความเครียด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย อาการเหล่านี้เมื่อได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็ม พบว่าได้ผลเป็นอย่างดี คนไข้หายจากอาการปวดต่างๆ ทำให้สุขภาพจิตดี อารมณ์แจ่มใส สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ดีเหมือนเดิม
ในส่วนของขั้นตอนการรักษานั้น น.พ.วรายุต กล่าวว่า เป็นอีกจุดเด่นหนึ่งที่ทำให้การฝังเข็ม รักษาอาการวัยทองได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีขั้นตอนที่รวดเร็วและง่ายต่อการรักษา
เริ่มแรกแพทย์จะใช้วิธีการตรวจวินิจฉัย จากการตรวจสภาพต่างๆ ของร่างกายด้วยการใช้มือแมะบริเวณข้อมือ เพื่อตรวจสอบการทำงานของอวัยวะ สังเกตสีหน้า สิ่งผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นศาสตร์เฉพาะที่ผู้รักษาจะต้องได้รับการอบรมศึกษาเป็นพิเศษ เมื่อพบความผิดปกติแล้ว จึงจะใช้วิธีการฝังเข็มไปตามร่างกายและกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสอ่อน เพียง 15-30 นาทีในการรักษาแต่ละครั้ง ซึ่งคนไข้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองอย่างชัดเจน เพียงครั้งแรกของการรักษา
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการอื่นรักษาร่วมด้วย เช่น การประคบร้อน เย็น การนวดกดจุด นวดผ่อนคลาย การครอบกระปุก เป็นต้น ซึ่งแล้วแต่อาการของคนไข้ โดยใช้ยาในการรักษาน้อยมาก ทำให้คนไข้ประหยัดเวลา และมีความสุขกับการรักษามากกว่า
อย่างไรก็ตาม การรักษาจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับอาการด้วย หากมีอาการแต่น้อย และได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วก่อนที่จะมีอาการหนัก การรักษาก็จะได้ผลเร็วตามไปด้วย การปักเข็มเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถหายสนิทได้ แต่หากมีอาการเพียบหนักมาหลายรายการ ก็ต้องใช้เวลารักษายาวนานตามสภาพไปด้วย
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คือไม่ควรนิ่งนอนใจ เมื่อพบว่าตัวเองกำลังเสี่ยงต่อการเกิดอาการวัยทองแล้ว ก็ควรรีบเข้ารับการรักษา เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพร่างกายและการดำรงชีวิตแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย
ผู้ที่กำลังสนใจจะเข้ารับการรักษาอาการที่เกิดขึ้นจาก "การเข้าสู่วัยทอง ด้วยวิธีการฝังเข็ม" คุณหมอแนะนำว่า ควรให้ความสำคัญกับการเลือกแพทย์ในการรักษาด้วย เพื่อความมั่นใจและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งควรจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้รับการศึกษาอบรมด้านการฝังเข็มเพิ่มเติม และผ่านการรับรองจากระทรวงสาธารณสุข หรืออาจศึกษารายละเอียดได้ที่ www.thaiacupuncture.net หรือ www.thaiprivilegespa.com
หน้า 23
ข่าวประจำวัน : 17 May 2006
แหล่งที่มา
ข่าวสด
อ่าน 2636
ย้อนกลับ
คู่มือการใช้งาน
ระบบสืบค้นข้อมูล
จำนวนผู้เยี่ยมชม
since 21/02/44
ศูนย์วิทยบริการ
ชั้น 4 อาคาร 3 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง นนทบุรี 11000
library@fda.moph.go.th Ω